ความเคลื่อนไหวล่าสุด: ลูกค้า UPS ในประเทศไทยในปัจจุบันสามารถเพลิดเพลินกับทางเลือกการจัดส่งที่รวดเร็วขึ้นกับคู่ค้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกชั้นนำของประเทศ UPS ได้เพิ่มเที่ยวบินใหม่จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ ไปยังศูนย์กลางการดำเนินงานภายในทวีปเอเชียของ UPS ในเซินเจิ้น ประเทศจีน
เหตุใดจึงมีความสำคัญ: ข้อมูล UPS แสดงว่าการค้าระหว่างประเทศไทยและเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกชั้นนำอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเป็น 550 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 หากศักยภาพของโอกาสทางการค้าภายในทวีปเอเชียมีอย่างเต็มที่
มันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือ: เที่ยวบินนี้เชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเร็วขึ้นกว่าที่เคย เป็นการเปิดโอกาสทางการค้าข้ามพรมแดนให้กับธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้น โดยการใช้เครือข่ายของ UPS และบริการชั้นนำของอุตสาหกรรมของเราไปยังจุดหมายปลายทางทั่วโลกรวมถึงยุโรปและสหรัฐอเมริกา
“เรารู้ว่าสำคัญเพียงใดสำหรับลูกค้าของเราที่จะเข้าถึงความเร็ว ความสม่ำเสมอและความจุในการขนส่งทางอากาศได้ง่ายขึ้น” Russell Reed กรรมการผู้จัดการของ UPS ประเทศไทยกล่าว “เที่ยวบินนี้ได้เชื่อมโยงลูกค้าของ UPS ในศูนย์กลางสำคัญทางอุตสาหกรรมของประเทศเข้ากับคู่ค้าระดับภูมิภาคชั้นนำของประเทศได้เร็วกว่าที่เคย นำเสนอโอกาสทางการค้าข้ามพรมแดนที่มากขึ้นสำหรับธุรกิจที่ใช้เครือข่ายของ UPS และบริการจัดส่งชั้นนำของอุตสหกรรมของเราไปยังจุดหมายปลายทางทั่วโลกรวมถึงยุโรปและสหรัฐอเมริกา”
ช่วยให้เครือข่ายของเราเติบโต: นี่เป็นปีที่สามติดต่อกันที่ UPS ได้นำเที่ยวบินใหม่ไปยังเครือข่ายทางอากาศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลังการบริการไปยังและจากฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ในปี 2020 และเพิ่มเส้นทางโอซาก้าคันไซในปี 2021
ตรวจสอบวีดีโอพิเศษของเราโดยยูทูปเบอร์ชาวญี่ปุ่น Onoda เพื่อดูว่าเครือข่ายและการปฏิบัติการทางอากาศของเรา
รายละเอียดเจาะลึก: สุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่วุ่นวายที่สุดของประเทศไทยทั้งในด้านผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า เที่ยวบินใหม่ไปยังเซินเจิ้นเป็นส่วนของวงจรของเที่ยวบินข้ามทวีปใหม่ที่เชื่อมโยงศูนย์กลางทางอากาศบริการระหว่างประเทศของ UPS ในโคโลญจน์กับไทย จีนและอาคารสถานที่ผ่านเข้าออกสนามบินอินเดียแห่งใหม่ในเบงกาลูรู อินเดีย